เมื่อไม่เคารพกฎจราจร เราจึงเห็นรถจักรยานยนต์แย่งทางเท้าของคนทั่วไป เรื่องเล็กๆ แต่ก็เป็นเรื่องใหญ่เพราะคนส่วนน้อยที่ไม่สนใจข้อบังคับ หวังจะสะดวกตัวเองมันเป็นเรื่องน่าเห็นใจ ไม่มีสำนึกต่อส่วนรวมเอาเสียเลย

รู้หรือไม่ Tmotortrip

            ก่อนหน้านี้มีการประชาสัมพันธ์กันคึกโครม ไม่ยอมให้ใครขี่รถย้อนศรขึ้นฟุตบาทเอาจริงเอาจังกันอยู่พักใหญ่สุดท้ายก็กลับสู่ภาวะเดิม แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาที่เจ้าหน้าที่รัฐเสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวบุคคลด้วยเช่นกัน ต่อให้จับปรับหนักอย่างไรเผลอเมื่อไหร่ก็ทำอีก แบบนี้เรียกว่าไม่สำนึกเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่สร้างความรำคาญเท่านั้น แต่ยังเหมารวมถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ ซ้ำร้ายกว่านั้นบางคนเลือดร้อนก็ทะเลาะวิวาทกัน เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องมากนัก

            พฤติกรรมดังกล่าวของผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ดังกล่าว ถือได้ว่าสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนผู้เดินสัญจรบนทางเท้าไม่ใช่น้อย เพราะก่อให้เกิด ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เดินบนทางเท้าที่สัญจรไปมาบนทางเท้า ดังนั้นจึงควรหันมาศึกษาดูกฎหมายข้อบังคับของกรมขนส่งกันบ้าง หรือจะติดป้ายไว้ตัวใหญ่ๆก็จะได้รับรู้กันไป ถ้ายังฝืนทำก็ลงโทษให้หนัก

            ซึ่งตามพระราชบัญญัติ การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (11) กำหนดให้ทางเท้าเป็นพื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใด ข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน เท่านั้น เช่น กรณีมีรถจักรยานยนต์ขับบนทางเท้าแล้ว เกิดไม่พอใจคนที่เดินไปมา มีการบีบแตรไล่คนเดินเท้าทางเท้า ทำให้คนที่เดินไปมาตกใจแล้วเกิดอุบัติเหตุ พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดต่อผู้ที่เดินสัญจรไปมา บนทางเท้า และผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก 2522 มาตรา 43 (7) (8) “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ โดยไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น” หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบเห็นสามารถดำเนินการจับปรับได้ทันที

            นอกจากนี้ในกรณีที่จอดรถจักรยานยนต์อย่างเดียว แต่ไม่ได้ขับขี่ก็ถือว่าเป็นการจอดรถกีดขวาง ทางเท้าก็จะมีความผิดเช่นกัน แต่จะเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17 (2) “ห้ามมิให้ผู้ใดจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้” และมาตรา 50 “ในกรณีที่มีการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันสมควรว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่า กระทำความผิดนั้นพร้อมด้วยยานพาหนะ เครื่องมือ และสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการ ตามกฎหมายได้” หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติก็ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจ หากพบเห็นก็สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันทีเช่นเดียวกัน

            ไม่ใช่แค่ขี่ไปบนทางเท้าเท่านั้นนะเพราะยังรวมถึงการจอดรถกีดขวางหรือวางป้ายก็ไม่ควรทำเช่นกัน เพราะนั้นถือว่าผิดกฎหมาย แล้วที่สำคัญนะผมคิดว่าต้องปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มีจิตสำนึกมากขึ้นจะได้ไม่กระทำความซ้ำซาก บางคนบอกเจ้าหน้าที่ต้องเข้มงวดมากกว่านี้ แต่ถ้าถามผม

           ปัจจุบันไม่แค่เจ้าหน้าที่ตวรจจับเท่านั้น ขี่รถบนทางเท้าใน กทม ตอนนี้จะโดนกล้อง AI ตรวจจับ อีกด้วยซึ่งระบบจะบันทึกข้อมูลการทำผิดและส่งให้เจ้าหน้าที่จับปรับตามกฏหมายไม่ยาก

ผมคิดว่าตำรวจหรือเทศกิจน่าจะมีงานอื่นที่สำคัญกว่ามาคอยนั่งไล่จับคนเหล่านี้ ตรงกันข้ามหากเราเคารพกฎหมายทุกอย่างมันก็ไม่เกิด แน่นอนถ้าผิดต่อหน้าก็ต้องจับแต่สุดท้าย ตอนนี้ไม่ต้องเจอเจ้าหน้าที่ก็โดนจับได้เพราะเขามากล้อง AI ติดตั้งไว้ทั่ว กทม

เพียงแค่เราทุกคนมีสำนึกต่อส่วนรวมทุกอย่างก็เรียบร้อย ประเทศไทยถ้าจะดังในสายชาวโลกขอให้เป็นเรื่องดีๆ น่าจะเป็นที่สนใจมากกว่า ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อเมืองไทยน่าอยู่ครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่