ขับช้า ชิดซ้าย หรือ ชิดขวา
ทฤษฎีกับปฏิบัติต่างกัน ไม่มีอะไรผิดอะไรถูกนอกจากสำนึก
นักเดินทางหรือไม่ใช่นักเดินทาง ผู้ใช้ถนนส่วนมากมักจะเจอกันเป็นประจำเรื่องถกเถียงบนโลกออนไลน์ ขับช้าไม่ยอมชิดซ้ายให้รถคันอื่นแซง ซึ่งมันก็เกิดคำถามตามมาเช่นเคยทำแล้วไมถึงต้องหลบ?
• ผมเองไม่เก่งเรื่องการร่างกฎหมายแก้ต่างให้ชนะเหมือนทนายความ แต่ถ้าถามในเรื่องของนักเดินทางผมเองก็หนึ่งในนั้น แล้วก็พอจะมีหลายเสียงที่ได้ยินมา ส่วนมากหลายเรื่องเป็นสิ่งย้อนแย้งในตัวเอง คำถามเดียวกันคำตอบอาจไม่เหมือนกัน เพราะมันขึ้นอยู่กับคนที่ตอบและมุมมองของแต่ละคน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคำนึงถึงความถูกต้องส่วนใหญ่เป็นหลัก ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวก็นำไปใช้ในองค์กรเช่นกัน
• บนถนนบางเส้นจึงมีข้อกำหนดขึ้นมาเพื่อควบคุมความเร็วให้เป็นไปตามกำหนดเพื่อความปลอดภัย เช่นในเมืองไม่เกิน 60 กม./ชม.หรือเกินได้แต่ไม่เกิน 80 กม./ชม. คือรถที่น้ำหนักรวมไม่เกิน 1,200 กก. หรือถ้าหากว่าเกินจากนั้นก็ต้องช้าลงมาอีกอยู่ประมาณ 45 กม./ชม. แต่ไม่เกิน 60 กม./ชม. ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นเดียวกันกับถนนหลวงเส้นอื่นๆทั้งเชื่อมระหว่างเมืองหรือทางหลวงพิเศษก็มีข้อกำหนดเอาไว้ แต่ที่ผ่านมาอาจไม่ค่อยได้ทำตามกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเองก็มีการยืดหยุ่นให้ถนนหลวงบางช่วงจาก กำหนด 80 กม./ชม.ก็เป็น 120 กม.ชม. ขณะเดียวกันบางอำเภอก็ไม่ปล่อยให้เกินจาก 100 กม./ชม. โดยใช้กล้องอัตโนมัติเป็นตัวบันทึก ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่ทั่วไป แล้วถนนไหนขับได้ถึง 120กม./ชม.? กำหนดอัตราความเร็วของยาน พาหนะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้
•
(1) รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชัวโมงละ 100 กิโลเมตร
(2) รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชัวโมงละ 80 กิโลเมตร
(3) รถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 120 กิโลเมตร
• จากข้อกำหนดต่างๆที่บอกมาดังกล่าวเราก็ต้องบอกว่าบางคนก็ยึดข้อกำหนดนี้เอาไว้ พอมีโอกาสได้ขับบนถนทางหลวงที่มีป้ายกำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ถนนหกเลนเลือกขับชิดเลนขวาสุด ตลอดการเดินทางโดยใช้ความเร็วกำหนดตามกฎหมายไม่เกิน 90 กม./ชม. ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างได จนเมื่อได้เห็นคลิปรถเกิดอุบัติเหตุ เพราะรถขับชิดขวา เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น
• ทำไมขับรถแช่เลนขวานานถึงอันตราย เพราะเลนขวาคือเลนสำหรับที่เร็วกว่าแซงรถที่ช้ากว่า ซึ่งการปฏิบัติประจำเราน่าจะทราบกันดี ถ้าเราขับชิดขวาอยู่แต่มองกระจกหลังแล้วเห็นเร็วกว่าตามมาเราก็ควรหลบเพื่อให้เขาแซงถึงแม้เขาจะเกินความเร็วตามกฎหมายกำหนดก็ตาม ซึ่งถ้าหากว่าคุณไม่หลบแล้วโดนชนท้ายมันยิ่งเสียหายกันหนัก
• ขณะเดียวกันในเลนขวาสุดก็ยังเป็นเลนสำหรับกลับรถ ทั้งรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถเพื่อการเกษตรฯลฯ ซึ่งถ้าหากคุณย้ายมาขับเลนกลางน่าหรือซ้ายสุดน่าจะดีกว่า ถึงจะช้าก็ไม่เป็นไรใครอยากแซงก็แซงไป จะสังเกตว่าบางที่จะมีป้ายใหญ่เขียนไว้ชัดเจน “ขับช้าชิดซ้าย” ที่เขียนเอาไว้ก็เพื่อป้องกันอันตราย อย่างทางลงเขาถึงแม้ในประเทศไทยทางหลวงหลักจะทำการขยายถนนให้กว้างขวางเพื่อความสะดวกสบายแล้ว ทางโค้งลงเขาต่อเนื่องถึงแม้วามเร็วไม่มากแต่ถ้าเขาพ้นโค้งแล้วมาเจอกับรถช้ากว่าวิ่งในเลนขวาอะไรจะเกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งรถหนักแซงกันแล้วเจอรถช้าขวางทางอยู่คุณอาจทำให้รถคันนั้นเสียหลักก็ได้ รถหนักขึ้นเขากว่าส่งกำลังขึ้นมาได้มันไม่ง่ายนะครับ อีกอย่างถ้าขับช้าชิดซ้ายมันก็ช่วยเรื่องรถติดได้ ถ้าคนเดินทางจะเจอบ่อยๆ รถคันเดียวทำให้รถติดยาวเป็นหลายกิโลเมตร
• เอาเป็นว่าถ้าเจอรถช้าวิ่งแช่ขวาเราควรทำใจบางครั้งอาจไม่รู้ตัว ขณะเดียวกันเราเป็นคนขับก็หมั่นมองกระจกหลังบ่อยๆ ถ้าเห็นใครเร็วกว่าก็หลบให้เขาไปไม่ได้ทำให้เสียเงินเสียทอง อุบัติเหตุช่วยลดได้ถ้าเริ่มจากตัวเรา จะช้าชิดซ้ายหรือเร็วชิดขวา ไม่มีอะไรผิดถูกแต่เป็นเรื่องของความรู้สึกสำนึกเท่านั้นเอง